[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 
 
เมนูหลัก
ลิงค์หน่วยงาน
ธารน้ำใจสู่แหลมงอบ
9 โดย : admin
9/ม.ค./2563  
Not Rated stars ( Not Rated / 0 )
ร้านเกษตรไบโอได้มาบริจาคเครื่องทำน้ำร้อน-เย็น และรถเข็นนั่งผู้ป่วย รวมมูลค่า 10,000 บาท ให้แก่โรงพยาบาลแหลมงอบ ( 1851 / )
    

วันที่ 6 มกราคม 2563 ร้านเกษตรไบโอได้มาบริจาคเครื่องทำน้ำร้อน-เย็น และรถเข็นนั่งผู้ป่วย รวมมูลค่า 10,000 บาท ให้แก่โรงพยาบาลแหลมงอบ

อ่านต่อ....
 
   
สถิติผู้เยี่ยมชม

 เริ่มนับ 25/ก.ค./2556
ผู้ใช้งานขณะนี้ 1 IP
ขณะนี้
1 คน
สถิติวันนี้
91 คน
สถิติเมื่อวานนี้
66 คน
สถิติเดือนนี้
485 คน
สถิติปีนี้
8998 คน
สถิติทั้งหมด
176507 คน
IP ของท่านคือ 18.221.245.196
(Show/hide IP)
หมวดหมู่ : SRRT/PCU (งานสอบสวนโรค/งานชุมชน)
เรื่อง : สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส’ ก่อโรคอาหารเป็นพิษ
โดย : admin
เข้าชม : 645
พฤหัสบดี ที่ 22 เดือน มกราคม พ.ศ.2558
A- A A+
        

สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างข้าวหน้าเป็ดจำนวน 5 ตัวอย่าง เพื่อนำมาวิเคราะห์ เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) ปนเปื้อน
          ผลปรากฏว่าพบการปนเปื้อนของเชื้อ 1 ตัวอย่าง และเกินค่ามาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่กำหนดให้อาหารพร้อมบริโภค/อาหารปรุงสุกทั่วไป พบเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) ปนเปื้อนได้ไม่เกิน 100 ซีเอฟยู/กรัม
          “ข้าวหน้าเป็ด” อาหารจานเดียวในใจใครหลายคน ปัจจุบันมีขายตามตรอก ซอกซอย จนถึงห้างหรูมีระดับ แตกต่างกันที่น้ำราดเป็ด และเนื้อเป็ดที่มีความนุ่มต่างกันตามสูตร
‘สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส’ เชื้อก่อโรคอาหารเป็นพิษ thaihealth
          และอีกสิ่งที่จะขาดไม่ได้คือ น้ำจิ้ม ตัวช่วยเพิ่มรสชาติของข้าวหน้าเป็ดให้น่ารับประทานยิ่งขึ้น ดูๆแล้วก็ไม่น่ามีอันตรายอะไร เพราะทุกอย่างปรุงสุกแล้ว แต่หากสุกแบบทิ้งไว้นาน ไม่ได้ทานในทันที ตรงนี้ก็อาจมีอันตรายแอบแฝงอยู่ได้
          อันตรายที่ว่าคือ เจ้าเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) ที่เมื่อปนเปื้อน อยู่ในอาหารแล้วสามารถสร้าง สารพิษเอนเทอโรทอกซิน ที่มีสมบัติพิเศษ คือ ทนความร้อน
          อันตรายของมันคือ ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน เป็นตะคริวในช่องท้องและอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อ และมีการเปลี่ยนแปลงความดันโลหิตเป็นระยะๆ
          โดยทั่วไปอาการจะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน ขึ้นอยู่กับปริมาณของเชื้อที่ปนเปื้อนในอาหาร และปริมาณสารพิษที่สร้างขึ้นในอาหาร ความต้านทานสารพิษและสภาพของร่างกายทั่วไปของผู้ที่ได้รับเชื้อด้วย
          อันตรายจากเชื้อก่อโรคจะยังคุกคามผู้บริโภคอย่างเราอย่างต่อเนื่อง หากเราไม่ตระหนัก และใส่ใจในเรื่องของการทานอาหารที่สะอาด ปลอดภัย และผ่านขั้นตอนการปรุงอย่างถูกสุขลักษณะ เช่น ผู้ปรุงต้องมีเครื่องแต่งกายที่สะอาด เล็บมือตัดสั้นอยู่เสมอ มีการสวมถุงมือเวลาหยิบจับอาหารตลอดเวลา บริเวณหน้าร้านและในร้านต้องสะอาด ภาชนะ จาน ช้อน ส้อมและอุปกรณ์ที่ใช้ต้องล้างให้สะอาด



     

Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

SRRT/PCU (งานสอบสวนโรค/งานชุมชน)5 อันดับล่าสุด

      กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย 10/พ.ค./2562
      โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) ภัยร้ายใกล้ตัว 10/ธ.ค./2561
      สารไอโอดีนมีผลต่อสุขภาพมารดาและทารกในครรภ์อย่างไร 25/พ.ย./2561
      นโยบายโรงพยาบาลมาตรฐานอนามัยแม่และเด็ก 6/ม.ค./2560
      นโยบายสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 6/ม.ค./2560


 
 หน้านี้ใช้เวลา LOAD ทั้งสิ้น  0.38060998916626 วินาที