[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 
 
เมนูหลัก
ลิงค์หน่วยงาน
ธารน้ำใจสู่แหลมงอบ
9 โดย : admin
9/ม.ค./2563  
Not Rated stars ( Not Rated / 0 )
ร้านเกษตรไบโอได้มาบริจาคเครื่องทำน้ำร้อน-เย็น และรถเข็นนั่งผู้ป่วย รวมมูลค่า 10,000 บาท ให้แก่โรงพยาบาลแหลมงอบ ( 1837 / )
    

วันที่ 6 มกราคม 2563 ร้านเกษตรไบโอได้มาบริจาคเครื่องทำน้ำร้อน-เย็น และรถเข็นนั่งผู้ป่วย รวมมูลค่า 10,000 บาท ให้แก่โรงพยาบาลแหลมงอบ

อ่านต่อ....
 
   
สถิติผู้เยี่ยมชม

 เริ่มนับ 25/ก.ค./2556
ผู้ใช้งานขณะนี้ 1 IP
ขณะนี้
1 คน
สถิติวันนี้
50 คน
สถิติเมื่อวานนี้
70 คน
สถิติเดือนนี้
1391 คน
สถิติปีนี้
7795 คน
สถิติทั้งหมด
175304 คน
IP ของท่านคือ 18.221.187.121
(Show/hide IP)
หมวดหมู่ : SRRT/PCU (งานสอบสวนโรค/งานชุมชน)
เรื่อง : โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) ภัยร้ายใกล้ตัว
โดย : admin
เข้าชม : 1720
จันทร์ ที่ 10 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2561
A- A A+
        

โรคพิษสุนัขบ้าคืออะไร
   โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำเป็นโรคติดเชื้อในระบบประสาทจากสัตว์สู่คน มีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต ผู้ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าจะเสียชีวิตเกือบทุกราย เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้ในการรักษา แต่ทั้งนี้โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน

   ในแต่ละปีองค์การอนามัยโรครายงานผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้ามากกว่า 60,000 รายทั่วโลก แต่สำหรับประเทศไทยในปี พ.ศ. 2561 เพียงประมาณ 2 เดือนมีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าแล้วถึง 3 รายร่วมกับตรวจพบสัตว์ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว 251 ตัว ซึ่งสูงกว่าระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาถึง 1.5 เท่า พบมากที่สุดในสุนัข กว่าร้อยละ 90 ตามมาด้วยแมว และโคตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 22 จังหวัดซึ่งกรมปศุสัตว์ได้ประกาศเขตโรคระบาดพิษสุนัขบ้าพื้นที่สีแดง ได้แก่ จ.สุรินทร์ จ.ชลบุรี จ.สมุทรปราการ จ.ฉะเชิงเทรา จ.บุรีรีมย์ จ.อุบลราชธานี จ.ร้อยเอ็ด จ.สงขลา จ.ระยอง จ.ตาก จ.ศรีสะเกษ จ.ตรัง กรุงเทพมหานครฯ จ.สระแก้ว จ.น่าน จ.เชียงราย จ.นครราชสีมา จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.อำนาจเจริญ จ.ยโสธร จ.สมุทรสงคราม จ.นนทบุรี (ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 12 มีนาคม 2561 กรมปศุสัตว์) นอกจากนี้ยังต้องเฝ้าระวังโรคระบาดพิษสุนัขบ้าในอีกหลายจังหวัด โรคนี้จึงนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่มีความสำคัญยิ่ง

 

คนติดโรคพิษสุนัขบ้าจากสัตว์ชนิดใดบ้าง
   โรคพิษสุนัขบ้าพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่น แมว ค้างคาว วัว ลิง ชะนี กระรอก กระต่าย รวมถึงหนู เป็นต้น แต่พบว่าสุนัขและแมวเป็นสัตว์ที่นำโรคพิษสุนัขบ้ามาสู่คนได้บ่อยที่สุด โรคพิษสุนัขบ้าติดต่อโดยการสัมผัสกับน้ำลายจากการถูกกัด ข่วนหรือเลียบริเวณที่มีบาดแผลรอยถลอกหรือรอยขีดข่วนบาดแผล หรือถูกเลียบริเวณเยื่อบุตา หรือปาก เป็นต้น นอกจากนี้ การชำแหละซากสัตว์หรือรับประทานผลิตภัณฑ์ดิบจากสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าก็สามารถติดโรคได้

อาการของโรคพิษสุนัขบ้าในคนเป็นอย่างไร
   หลังได้รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าผู้ป่วยจะแสดงอาการป่วยโดยเฉลี่ยประมาณ 3 สัปดาห์ ถึง 3 เดือน ในบางรายอาจใช้เวลานานหลายปีกว่าจะมีอาการก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นกับตำแหน่งที่ถูกกัด ขนาด จำนวนและความลึกของบาดแผลรวมถึงภูมิต้านทานของคนที่ถูกสัตว์กัด อาการของโรคพิษสุนัขบ้าแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้

1. ระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยจะมีอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น ไข้ เจ็บคอ ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามตัว หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน กระวนกระวายนอนไม่หลับ ในบางรายอาจมีอาการเจ็บ เสียวแปล๊บคล้ายเข็มทิ่ม หรือคันอย่างมากบริเวณที่ถูกกัด ซึ่งเป็นลักษณะที่จำเพาะของโรคระยะนี้มีเวลาประมาณ 2-10 วัน

2. ระยะที่มีอาการทางสมอง ผู้ป่วยจะมีอาการสับสน วุ่นวาย กระสับกระส่าย อยู่ไม่นิ่ง กลืนลำบาก รวมถึงกลัวน้ำ อาการจะมากขึ้นหากมีเสียงดัง หรือถูกสัมผัสเนื้อตัว จากนั้นผู้ป่วยอาจมีอาการชักและเป็นอัมพาต ระยะนี้มีอาการประมาณ 2-7 วัน

3. ระยะท้าย ผู้ป่วยอาจมีภาวะหายใจล้มเหลว หัวใจหยุดเต้น โคม่า และเสียชีวิตในเวลาอันสั้น

ควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อถูกสัตว์กัด
1. รีบล้างแผลให้เร็วที่สุดด้วยน้ำสบู่และน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง นานอย่างน้อย 15 นาที ล้างทุกแผลและล้างให้ลึกถึงก้นแผล แล้วเช็ดแผลให้แห้ง ใส่ยาฆ่าเชื้อบริเวณแผล เช่น ยาโพวิโดนไอโอดีน เป็นต้น

2. จดจำลักษณะและสังเกตอาการสัตว์ที่กัด รวมทั้งสืบหาเจ้าของ เพื่อสอบถามประวัติการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าและสังเกตอาการสัตว์ที่กัดเป็นเวลา 10 วัน ถ้าสบายดีไม่น่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้า แต่ถ้าสุนัขตายให้นำซากมาตรวจ

3. ไปพบแพทย์ทันทีพร้อมนำสมุดวัคซีนหรือประวัติการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและบาดทะยักไปด้วย เพื่อรับการป้องกันรักษาที่ถูกต้อง ถ้ามีความเสี่ยงต่อโรคพิษสุนัขบ้า เช่น ถูกกัดหรือข่วน แพทย์จะพิจารณาฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า รวมถึงวัคซีนป้องกันบาดทะยักและยาฆ่าเชื้อ นอกจากนี้ในกรณีที่มีโอกาสติดโรคพิษสุนัขบ้าสูง แพทย์อาจพิจารณาให้อิมมูโนโกลบุลินซึ่งมีภูมิต้านทานโรคพิษสุนัขบ้าร่วมด้วย โดยวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจะฉีดประมาณ 3-5 ครั้ง เป็นวัคซีนมีความปลอดภัยสูงสามารถฉีดได้ทุกวัย รวมทั้งในเด็กและสตรีมีครรภ์ วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามีประสิทธิภาพสูงหากไปรับการฉีดตามแพทย์นัดทุกครั้ง

จะป้องกันพิษสุนัขบ้าได้อย่างไร
   เนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่ไม่มียาที่ใช้ในการรักษา และถ้าติดเชื้อจะเสียชีวิตเกือบทุกราย ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยมีแนวทางในการป้องกันดังนี้

1. ควบคุมไม่ให้เป็นโรคพิษสุนัขบ้า

พาสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าตามกำหนด และฉีดซ้ำทุกปี
ไม่ปล่อยสัตว์เลี้ยงไปในที่สาธารณะ ทุกครั้งที่จะนำสุนัขออกนอกบ้านควรอยู่ในสายจูง
ไม่นำสัตว์ป่ามาเลี้ยง
2. หลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกสัตว์กัด โดยไม่แหย่หรือรังแกให้สัตว์โมโห รวมทั้งไม่ยุ่งหรือเข้าใกล้สัตว์ที่ไม่รู้จักหรือไม่มีเจ้าของ

3. ถ้าถูกสัตว์กัดแล้ว ควรปฎิบัติตามคำแนะนำข้างต้น

4. พิจารณาการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบป้องกันล่วงหน้าในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงในการสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า ได้แก่ สัตวแพทย์ ผู้ที่มีอาชีพเลี้ยงและขายสัตว์ เป็นต้น ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลที่มีการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งอาจทำให้การเข้าถึงวัคซีน การตรวจทางน้ำเหลือง รวมถึงการมารับวัคซีนกระตุ้นตามนัดทำได้ยากลำบาก หรืออาศัยอยู่บนพื้นที่ที่มีแหล่งรังของโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ป่า รวมถึงเด็กที่เลี้ยงสุนัขและแมวเป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบป้องกันล่วงหน้า และเมื่อถูกสัตว์กัดจะต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำอีก 1-2 ครั้ง

   ประเทศไทยได้กำหนดเป้าหมายเป็น “พื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า” เพื่อกวาดล้างโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศไทยให้ได้ในปี 2563 ตามข้อตกลงขององค์การอนามัยโลก (WHO) องค์กรโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) และองค์กรอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) หากปฏิบัติได้ตามนี้เชื่อว่าทุกคนน่าจะปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า

 

ข้อมูลจาก http://www.siphhospital.com/th/news/article/share/579



     

Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

SRRT/PCU (งานสอบสวนโรค/งานชุมชน)5 อันดับล่าสุด

      กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย 10/พ.ค./2562
      โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) ภัยร้ายใกล้ตัว 10/ธ.ค./2561
      สารไอโอดีนมีผลต่อสุขภาพมารดาและทารกในครรภ์อย่างไร 25/พ.ย./2561
      นโยบายโรงพยาบาลมาตรฐานอนามัยแม่และเด็ก 6/ม.ค./2560
      นโยบายสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 6/ม.ค./2560


 
 หน้านี้ใช้เวลา LOAD ทั้งสิ้น  0.47569704055786 วินาที