[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 
 
เมนูหลัก
ลิงค์หน่วยงาน
ธารน้ำใจสู่แหลมงอบ
9 โดย : admin
9/ม.ค./2563  
Not Rated stars ( Not Rated / 0 )
ร้านเกษตรไบโอได้มาบริจาคเครื่องทำน้ำร้อน-เย็น และรถเข็นนั่งผู้ป่วย รวมมูลค่า 10,000 บาท ให้แก่โรงพยาบาลแหลมงอบ ( 1846 / )
    

วันที่ 6 มกราคม 2563 ร้านเกษตรไบโอได้มาบริจาคเครื่องทำน้ำร้อน-เย็น และรถเข็นนั่งผู้ป่วย รวมมูลค่า 10,000 บาท ให้แก่โรงพยาบาลแหลมงอบ

อ่านต่อ....
 
   
สถิติผู้เยี่ยมชม

 เริ่มนับ 25/ก.ค./2556
ผู้ใช้งานขณะนี้ 1 IP
ขณะนี้
1 คน
สถิติวันนี้
77 คน
สถิติเมื่อวานนี้
152 คน
สถิติเดือนนี้
2109 คน
สถิติปีนี้
8513 คน
สถิติทั้งหมด
176022 คน
IP ของท่านคือ 3.17.75.227
(Show/hide IP)
หมวดหมู่ : การพัฒนาบุคลากร (HRD)
เรื่อง : HRD นำความยืนยงสู่องค์การ
โดย : admin
เข้าชม : 629
อังคาร ที่ 4 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557
A- A A+
        

HRD นำความยืนยงสู่องค์การ
คำกล่าวของซุนวู ที่ว่า “จงเลี้ยงดูทหารของให้ดี บ่มเพาะความแข็งแกร่งภายใน เพื่อให้ปราศจากโรคภัย นี่คือ หลักประกันแห่งชัยชนะ”

เป็นข้ออ้างอิงหนึ่งที่สนับสนุนว่า ‘คน’ คือ หัวใจแห่งความสำเร็จ มาตั้งแต่อดีตกาลโน่นแล้ว
เบญจวรรณ บุญใจเพ็ชร เกริ่นนำเรื่องนี้ก่อนเข้าสู่การบรรยายในหัวข้อ “HRD Strategy : เชื่อมโยงงานพัฒนาบุคลากรสู่การพัฒนาองค์การ” ซึ่งจัดโดยสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
และได้นำการตีความ HRD -Human Resource Development ของปรมาจารย์ HRD ของโลกอย่าง Dave Ulrich เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องนี้ให้พูนเพิ่มยิ่งขึ้นซึ่งมีใจความว่า
"เป็นการสร้างและส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศของการเรียนรู้ในองค์การ การออกแบบโปรแกรมการฝึกอบรม รวมถึงเป็นกระบวนการในการถ่ายโยงข้อมูลและประสบการณ์ของพนักงาน การให้คำปรึกษาในการพัฒนาสายอาชีพ (Career Development) ให้พนักงาน ตลอดจนเป็นกระบวนการสร้างองค์ความรู้ต่างๆ ให้เกิดขึ้น" งานพัฒนาบุคลากรนั้นถือเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จของธุรกิจ เพราะองค์การต้องอาศัยพนักงานที่มีความสามารถ มีการเรียนรู้และพัฒนา เพื่อสร้างกระบวนการทำงานที่ดี สร้างผลงานที่ยอดเยี่ยม ทำให้ลูกค้าพอใจ เพื่อนำมาซึ่งผลกำไร บริษัทมีความก้าวหน้า พนักงานอยู่ดีกินดี
เบญจวรรณ กล่าวว่าขอบเขตหน้าที่ของ HRD นั้นมีอยู่ 6 เรื่องหลักๆ นั่นคือ การฝึกอบรมและพัฒนา (Training &Development) การพัฒนาสายอาชีพ (Career Development) การพัฒนาสมรรถนะ (Competency Development) การบริหารผลงาน (Performance Management) การบริหารคนเก่งคนดี (Talent Management) และการบริหารองค์การ (Organization Development)
อย่างไรก็ตามธุรกิจในไทยโดยเฉพาะไซส์เล็กๆ ยังไม่ค่อยตื่นตัวในเรื่องนี้ โดยอาจมองว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยากเกินตัว และเธอเตือนว่าธุรกิจในประเทศลาวจำนวนมากกำลังลุกขึ้นมาทำเรื่องนี้อย่างเร่งรีบ และทำทั้ง 6 เรื่องอีกด้วย
หากแต่หลุมพรางของความล้มเหลวของ HRD นั้นก็มักขึ้นอยู่กับสมรรถนะของนัก HRD หมายถึงความรู้ความสามารถด้านทักษะวิชาชีพ เช่น ความรู้ด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การบริหารงานฝึกอบรม การบริหารและพัฒนาผลปฏิบัติการ การจัดการความรู้ในองค์การ ตลอดจนความรู้ความสามารถด้านธุรกิจและสติปัญญา
ส่วนดีกรีความสามารถด้านความสัมพันธ์ส่วนบุคคลก็ต้องเป็นเลิศ เบญจวรรณบอกว่าต้องเก่งชนิดเป็นนักแสดงระดับรางวัลออสการ์ได้ยิ่งดี ประเภทตีบทกระจุย ไม่ว่าจะรับบทนางเอก หรือ นางมาร เพื่อนำไปสู่เป้าหมายคือความร่วมไม้ร่วมมือของคนในองค์การนั่นเอง
HRD ก็เหมือนกับเรื่องอื่นๆ จะแฮปปี้เอ็นดิ้งได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับ ‘กลยุทธ์’ วิทยากรท่านนี้ให้คำแนะนำว่ากลยุทธ์ที่ดีต้องพิจารณากันดีๆ ใน 5 ประเด็น คือ 1. วิสัยทัศน์และภารกิจขององค์การ 2. เป้าหมายและกลยุทธ์ของธุรกิจ 3. ลูกค้าภายนอกและลูกค้าภายใน 4. ขีดความสามารถหรือความได้เปรียบในการแข่งขัน และ 5. องค์การให้ความสำคัญต่อการลงทุนเพื่อพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์มากน้อยเพียงไร แน่นอนว่ากลยุทธ์ HRD ของบริษัทชั้นนำระดับประเทศและระดับโลกจะสัมผัสได้ถึงความเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ธุรกิจขององค์การเสมอ
ข้อควรระวังก็คือ ความสำเร็จไม่อาจลอกเลียนกันได้ เนื่องจากแต่ละองค์การย่อมมีความต่างและต้องอย่าลืมประเมินผลลัพธ์หรือเป้าหมายหลักของกลยุทธ์ที่ต้องเกิดประสิทธิภาพต่อตัวของพนักงานเองและต่อองค์การด้วย
เบญจวรรณกล่าวว่าอาจจะกำหนดตัวชี้วัด (KPI-Key Performance Indicators) เช่น สัดส่วนพนักงานที่มีผลงานระดับดีมากต่อจำนวนพนักงานทั้งหมด อัตราส่วนของพนักงานที่ได้รับการเลื่อนขั้น การลดอัตราส่วนของพนักงานที่มีผลงานต่ำกว่ามาตรฐาน อัตราส่วนของพนักงานประเภท Multi-Skill Operator อัตราส่วนของพนักงานที่สามารถสอนงานผู้อื่นได้ ฯลฯ
การเชื่อมโยงงานพัฒนาบุคลากรสู่การพัฒนาองค์การเป็นงานซับซ้อนและต้องทำเป็นลำดับขั้น เริ่มที่ การพัฒนาพนักงาน (Individual Development) การพัฒนาสายอาชีพ (Career Development) การบริหารผลงาน (Performance Management) และ การพัฒนาองค์การ (Organization Development)
และก่อนจะเริ่มต้นพัฒนาในแต่ละเรื่องย่อมต้องมีการวินิจฉัย ให้รู้ว่ามีปัญหาคาใจหรือมีจุดอ่อนจุดแข็ง มีรอยรั่วตรงจุดใด อย่างไรเสียก่อน เช่น การพัฒนาพนักงานนั้นต้องเช็คว่าองค์การมีพนักงานประเภท ไม้ตายซาก เด็กเจ้าปัญหา ดาวเด่น และพนักงานที่ปฏิบัติได้ตามเกณฑ์ ในส่วนผสมที่ลงตัวหรือไม่ เพื่อนำไปสู่การวางแผน และปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
ไม่เช่นนั้นก็อาจเกาแต่ไม่ถูกที่คันก็เป็นได้
เธอบอกว่าจากประสบการณ์ มี 7 ปัจจัยความสำเร็จในการเชื่อมโยงงานพัฒนาบุคลากรสู่การพัฒนาองค์การ ได้แก่
1.การสนับสนุนของผู้บริหาร
2. การสร้างจิตสำนึก และแรงจูงใจในการพัฒนาอย่างจริงจัง
3. การส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนา
4. การยกระดับทักษะทั้งด้านปฏิบัติการและด้านการบริหาร
5.การบริหารการเปลี่ยนแปลงสู่การปฏิบัติ
6.ประเมินผลและติดตามผลอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะด้านความพึงพอใจ การเรียนรู้ พฤติกรรม และผลลัพธ์ทางธุรกิจ และ
7. การสร้างบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานให้เกิดการมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
และทิ้งท้ายว่าทุกเรื่องราวจำเป็นต้องปรับปรุงให้ทันกับการหมุนของโลก ที่นับวันก็จะมีแต่เร็วขึ้น



     

Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

การพัฒนาบุคลากร (HRD)5 อันดับล่าสุด

      การอบรมการช่วยเหลือชีวิตขั้นสูง ACLS แก่เจ้าหน้าที่ในคปสอ.แหลมงอบและงานสาธารณภัย 17/มี.ค./2557
      คณะเจ้าหน้าที่ รพ.แหลมงอบ เข้าศึกษาดูงาน รพ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา 17/ก.พ./2557
      การพัฒนาบุคลากร 4/ก.พ./2557
      HRD นำความยืนยงสู่องค์การ 4/ก.พ./2557


 
 หน้านี้ใช้เวลา LOAD ทั้งสิ้น  0.47357606887817 วินาที