[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 
 
เมนูหลัก
ลิงค์หน่วยงาน
ธารน้ำใจสู่แหลมงอบ
13 โดย : admin
13/ก.ย./2567  
Not Rated stars ( Not Rated / 0 )
บริษัท บริหารธนสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์จำกัด(มหาชน) บริจาคเครื่องฟอกอากาศ มูลค่า 45,435 บาท ให้แก่โรงพยาบาลแหลมงอบ เนื่องในโอกาสบริษัทอายุครบรอบ 25 ปี ( 97 / )
    

บริษัท บริหารธนสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์จำกัด(มหาชน) บริจาคเครื่องฟอกอากาศ มูลค่า 45,435 บาท ให้แก่โรงพยาบาลแหลมงอบ เนื่องในโอกาสบริษัทอายุครบรอบ 25 ปี

อ่านต่อ....
 
   
สถิติผู้เยี่ยมชม

 เริ่มนับ 25/ก.ค./2556
ผู้ใช้งานขณะนี้ 26 IP
ขณะนี้
26 คน
สถิติวันนี้
59 คน
สถิติเมื่อวานนี้
407 คน
สถิติเดือนนี้
6652 คน
สถิติปีนี้
34677 คน
สถิติทั้งหมด
202186 คน
IP ของท่านคือ 3.142.136.210
(Show/hide IP)
หมวดหมู่ : SRRT/PCU (งานสอบสวนโรค/งานชุมชน)
เรื่อง : โรคไข้หูดับ
โดย : admin
เข้าชม : 950
จันทร์ ที่ 18 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2557
A- A A+
        

ไข้หูดับ หรือโรคติดเชื้อ สเตรฟโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus suis)

เชื้อนี้จะทำให้สุกรป่วย และตายได้บ่อย ซึ่งในโรคนี้เป็นการติดต่อจากหมูสู่คน ไข้หูดับในคนมีการรายงานครั้งแรกในโลกที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2511 หลังจากนั้นมีการรายงานประปรายทั่วโลก ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 พบมีการระบาดครั้งใหญ่ในประเทศจีน มีผู้ติดเชื้อทั้งหมดประมาณ 215 ราย และเสียชีวิตถึง 38 ราย (ร้อยละ 18 ) คาดว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยมากกว่า 800 ราย ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งมาจากประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์โดยเฉพาะประเทศไทย และประเทศเวียดนาม

สำหรับประเทศไทยที่รวบรวมไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530-2553 พบ 19 รายงานมีผู้ป่วยรวม 301 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ โดย 3 รายงานดังกล่าว (พ.ศ. 2537, 2549 และ 2552) เป็นผู้ป่วยในคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ถึง 91 ราย


การติดเชื้อไข้หูดับ

เชื้อนี้ผ่านบาดแผลตามร่างกาย หรือเข้าทางเยื่อบุตา ผู้ที่ติดเชื้อมักมีอาชีพเกี่ยวกับการเลี้ยงหมู ทำงานในโรงงานชำแหละหมู หรือผู้สัมผัสกับสารคัดหลั่งของหมู เช่น น้ำมูก น้ำลาย และผู้ที่มีความเสี่ยง หมายรวมถึงผู้จำหน่าย หรือผู้ที่รับประทานเนื้อหมูดิบ หรือดิบๆสุกๆ เช่น ลาบหมู โรคนี้ระบาดอยู่ในหลายประเทศที่มีการเลี้ยงหมูรวมทั้งประเทศไทย มักพบในชุมชนที่มีการเลี้ยงหมู เช่น ในภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ แพร่ และน่านการติดเชื้อในคนเกิดได้สองวิธี คือ

    จากการรับประทาน
    หรือการสัมผัสเนื้อ และเลือดดิบ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ ของสุกรที่ป่วย

ยังไม่มีรายงานการติดต่อของไข้หูดับ จากคนสู่คน

ใครผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อนี้

ผู้ที่ป่วยมักเป็นกลุ่มชายวัยกลางคน และผู้สูงอายุ กว่าครึ่งของผู้ป่วยมีประวัติดื่มสุราเป็นประจำ มักพบว่ามีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ไต มะเร็ง มักจะมีประวัติการรับประทานลาบ หลู้ ส้า ดิบ เฉลี่ย 3 วันก่อนป่วย และส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เลือดเป็นพิษ และเยื่อบุหัวใจอักเสบผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อนี้ได้แก่ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายอ่อนแอ



     

ภาพกิจกรรม
Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

SRRT/PCU (งานสอบสวนโรค/งานชุมชน)5 อันดับล่าสุด

      กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย 10/พ.ค./2562
      โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) ภัยร้ายใกล้ตัว 10/ธ.ค./2561
      สารไอโอดีนมีผลต่อสุขภาพมารดาและทารกในครรภ์อย่างไร 25/พ.ย./2561
      นโยบายโรงพยาบาลมาตรฐานอนามัยแม่และเด็ก 6/ม.ค./2560
      นโยบายสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 6/ม.ค./2560


 
 หน้านี้ใช้เวลา LOAD ทั้งสิ้น  0.39931392669678 วินาที