[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 
 
เมนูหลัก
ลิงค์หน่วยงาน
ธารน้ำใจสู่แหลมงอบ
9 โดย : admin
9/ม.ค./2563  
Not Rated stars ( Not Rated / 0 )
ร้านเกษตรไบโอได้มาบริจาคเครื่องทำน้ำร้อน-เย็น และรถเข็นนั่งผู้ป่วย รวมมูลค่า 10,000 บาท ให้แก่โรงพยาบาลแหลมงอบ ( 1836 / )
    

วันที่ 6 มกราคม 2563 ร้านเกษตรไบโอได้มาบริจาคเครื่องทำน้ำร้อน-เย็น และรถเข็นนั่งผู้ป่วย รวมมูลค่า 10,000 บาท ให้แก่โรงพยาบาลแหลมงอบ

อ่านต่อ....
 
   
สถิติผู้เยี่ยมชม

 เริ่มนับ 25/ก.ค./2556
ผู้ใช้งานขณะนี้ 3 IP
ขณะนี้
3 คน
สถิติวันนี้
69 คน
สถิติเมื่อวานนี้
70 คน
สถิติเดือนนี้
1042 คน
สถิติปีนี้
7446 คน
สถิติทั้งหมด
174955 คน
IP ของท่านคือ 18.190.153.51
(Show/hide IP)
หมวดหมู่ : SRRT/PCU (งานสอบสวนโรค/งานชุมชน)
เรื่อง : กลูเตน (Gluten Free)
โดย : admin
เข้าชม : 797
ศุกร์ ที่ 20 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558
A- A A+
        

สุพิศ กลิ่นหวล นักโภชนาการชำนาญการพิเศษ ฝ่ายโภชนาการ โรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์  ให้ข้อมูลว่า กลูเตน (Gluten) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่พบได้ในข้าวสาลี ข้าวไรย์ และข้าวบาร์เลย์ ซึ่งพบในผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแป้งข้าวสาลี เช่น เบเกอรี่ พาย เค้ก เนื้อปูเทียม โดย “กลูเตน” มักใช้เป็นส่วนประกอบในการทำเนื้อเทียมในอาหารมังสวิรัติ และอาหารเจ รวมถึงยังพบได้ใน ปลากระป๋อง กะทิสำเร็จรูป น้ำมันหอย ซอสถั่วเหลือง เป็นต้น
              ประโยชน์ของกลูเตน คือ เป็นตัวช่วยให้ขนมปังฟูขึ้น และเนื้อนุ่ม นอกจากนี้ กลูเตนในข้าวสาลียังอุดมไปด้วยโปรตีนถึง 23 กรัมต่อ ข้าวสาลีประมาณ ¼ ถ้วย ซึ่งมากกว่าเนื้อวัว เนื้อปลา และเนื้อไก่ประมาณ 85 กรัมอีกด้วย
กลูเต็นจะส่งผลเสียกับ ‘ผู้ที่แพ้กลูเตน’ โดยมีอาการคล้ายกับคนที่แพ้นมวัว แม้กินเพียงเล็กน้อย ก็ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ ทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ ท้องอืด ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการชาตามแขนและขา
              “กลูเต็นเป็นเพียงโปรตีนชนิดหนึ่ง ที่ไม่เป็นอันตรายสำหรับคนทั่วไปเพียงแต่ต้องรับประทานอย่างพอเหมาะ นอกจากผู้ที่มีอาการแพ้กลูเต็น หรือโรคความผิดปกติในช่องท้องที่กลูเตนไปขัดขวางการดูดซึมอาหาร ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ที่บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก ก็มีโอกาสเกิดโรคดังกล่าวน้อย”
               นอกจากนี้ การอ่านฉลากก่อนซื้อก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ได้รับสารอาหารตรงตามความต้องการ เนื่องจากฉลากอาหารเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานที่จะบอกว่าอาหารนั้นผลิตที่ใด มีส่วนประกอบอะไร มีการปรุง การเก็บรักษาอย่างไร ผลิตหรือหมดอายุเมื่อใด มีการใช้สารหรือวัตถุเจือปนชนิดใด รวมถึงมีคำเตือนที่ควรระวัง และได้รับอนุญาตหรือผ่านการตรวจสอบจาก อย.หรือไม่ โดยดูจากเครื่องหมาย อย. ซึ่งมีเลขสารระบบอาหาร 13 หลัก อยู่ภายในกรอบเครื่องหมาย อย.จะช่วยให้เราดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
                เช่นนี้แล้ว การเลือกรับประทานอาหารให้พอดี ถูกหลักอนามัย และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้สุขภาพร่างกายก็จะแข็งแรงสมวัยได้”
ที่มา : www.thaihealth.or.th



     

Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

SRRT/PCU (งานสอบสวนโรค/งานชุมชน)5 อันดับล่าสุด

      กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย 10/พ.ค./2562
      โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) ภัยร้ายใกล้ตัว 10/ธ.ค./2561
      สารไอโอดีนมีผลต่อสุขภาพมารดาและทารกในครรภ์อย่างไร 25/พ.ย./2561
      นโยบายโรงพยาบาลมาตรฐานอนามัยแม่และเด็ก 6/ม.ค./2560
      นโยบายสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 6/ม.ค./2560


 
 หน้านี้ใช้เวลา LOAD ทั้งสิ้น  0.50877499580383 วินาที