[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 
 
เมนูหลัก
ลิงค์หน่วยงาน
ธารน้ำใจสู่แหลมงอบ
9 โดย : admin
9/ม.ค./2563  
Not Rated stars ( Not Rated / 0 )
ร้านเกษตรไบโอได้มาบริจาคเครื่องทำน้ำร้อน-เย็น และรถเข็นนั่งผู้ป่วย รวมมูลค่า 10,000 บาท ให้แก่โรงพยาบาลแหลมงอบ ( 1802 / )
    

วันที่ 6 มกราคม 2563 ร้านเกษตรไบโอได้มาบริจาคเครื่องทำน้ำร้อน-เย็น และรถเข็นนั่งผู้ป่วย รวมมูลค่า 10,000 บาท ให้แก่โรงพยาบาลแหลมงอบ

อ่านต่อ....
 
   
สถิติผู้เยี่ยมชม

 เริ่มนับ 25/ก.ค./2556
ผู้ใช้งานขณะนี้ 1 IP
ขณะนี้
1 คน
สถิติวันนี้
25 คน
สถิติเมื่อวานนี้
79 คน
สถิติเดือนนี้
1178 คน
สถิติปีนี้
5601 คน
สถิติทั้งหมด
173110 คน
IP ของท่านคือ 54.226.25.246
(Show/hide IP)
หมวดหมู่ : Infection Control/Environment/ Equipment
เรื่อง : การดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบเอสบีอาร์(SBR)
โดย : admin
เข้าชม : 12110
ศุกร์ ที่ 18 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2560
A- A A+
        

การดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบเอสบีอาร์(SBR) 

หลักการทำงาน
ระบบเอสบีอาร์ เป็นระบบบำบัดน้ำเสียทางชีววิทยาแบบตะกอนเร่ง รูปแบบหนึ่งที่ถังเติมอากาศเป็นแบบปล่อยน้ำเสียให้เข้าสู่ถังเติมอากาศให้เต็มก่อน จากนั้นปิดถังและเติมอากาศสลับกัน หยุดการเติมอากาศให้เกิดการตกตะกอนในถังเติมอากาศเพราะถังตกตะกอนและถังเติมอากาศเป็นถังเดียวกัน เมื่อบำบัดจนครบวงจรแล้วจึงระบายน้ำใสไปยังถังเติมคลอรีนและปล่อยออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะต่อไป


ลักษณะการทำงานของถังปฏิกิริยา(ถังเติมอากาศและตกตะกอน) แบ่งเป็น 5 ช่วง คือ
1.ช่วงเติมน้ำเสีย (Fill) เป็นช่วงที่มีการเติมน้ำเสียเข้าสู่ถังปฏิกิริยาที่มีน้ำตะกอนจุลินทรีย์จากวงจรการทำงานก่อนหน้านี้ การเติมน้ำเสียทำให้ระดับน้ำในถังปฏิกิริยาสูงขึ้น จากเดิมที่มีอยู่ตั้งแต่ร้อยละ 20-100 โดยปริมาตรถัง ช่วงเวลาการเติมน้ำเสียจะขึ้นอยู่กับอัตราการไหลตามธรรมชาติของน้ำเสียนั้น หรือความสามารถของเครื่องสูบน้ำ
2.ช่วงทำปฏิกิริยา (React) เป็นช่วงที่เกิดปฏิกิริยาบำบัดน้ำเสีย อาจจะมีการกวนหรือการเติมอากาศในถังปฏิกิริยา ระยะเวลาที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาจะขึ้นกับคุณภาพน้ำทิ้ง(effluent) ที่ต้องการแต่ต้องมีระยะเวลาที่เพียงพอที่จะทำให้เกิดปฏิกิริยาอย่างสมบูรณ์
3.ช่วงตกตะกอน (Settle) เป็นช่วงที่เกิดการแยกตัวของตะกอนออกจากน้ำใสโดยช่วงนี้จะไม่มีการรบกวนจากการเติมอากาศหรือการกวนระยะเวลาในการตกตะกอนไม่ควรนานเกินไปเพื่อป้องกันปัญหาตะกอนลอยตัว
4.ช่วงระบายน้ำทิ้ง (Draw, Decant) เป็นช่วงระบายน้ำใสที่ผ่านการบำบัดแล้วออกจากถังปฏิกิริยา ระยะเวลาการระบายขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบแต่ไม่ควรใช้เวลานานเกินไปและไม่ควรมีตะกอนหลุดออกจากถังปฏิกิริยา
5.ช่วงพักระบบ (Idle) เป็นช่วงการพักระบบเพื่อรองรับน้ำเสียที่จะเข้ามาสู่การบำบัดในถังปฏิกิริยา ช่วงนี้อาจมีการเติมอากาศหรือการกวนซึ่งช่วงพักระบบนี้อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่กับการออกแบบ ระบบ กรณีที่มีน้ำทิ้งมากอาจจะต้องมีถังปฏิกิริยามากกว่า 1 ถัง โดยถังแต่ละถังจะทำหน้าที่ไม่เหมือนกันเพื่อให้สามารถรับและบำบัดน้ำเสียได้อย่างต่อเนื่อง

องค์ประกอบของระบบเอสบีอาร์
1.บ่อสูบน้ำเสีย ประกอบด้วย ตะแกรงดักขยะ หรือกล่องดักขยะ ที่สามารถยกขึ้นมาจากก้นบ่อเพื่อกำจัดขยะ และเครื่องสูบน้ำที่สามารถควบคุมการทำงานได้ทั้งแบบอัตโนมัติและแบบธรรมดา ในบ่อสูบน้ำเสียนอกจากมีน้ำเสียที่ไหลมาจากระบบท่อระบายน้ำของโรงพยาบาลแล้ว ยังมีน้ำเสียบางส่วนที่ไหลมาจากบ่อกำจัดรก ห้องน้ำห้องส้วมในห้องควบคุมระบบและน้ำเสียจากลานตากตะกอน
2.บ่อกำจัดรก เป็นบ่อที่เกิดปฏิกิริยาย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจนทำให้เกิดกลิ่นเหม็น
3.ถังเติมอากาศ (Aeration tank)
3.1 ถังเติมอากาศ (Aerator) ของระบบเอสบีอาร์เมื่อหยุดการเติมอากาศจะเป็นถังตกตะกอนในถังเดียวกัน มีการควบคุมการเติมอากาศโดยเครื่องตั้งเวลา (timer) และสวิตส์ลูกลอยไฟฟ้าภายในถังเติมอากาศ
3.2 เครื่องสูบตะกอน ที่อยู่ภายในถังเติมอากาศมีหน้าที่สูบตะกอนที่มากเกินพอในช่วงหยุดการเติมอากาศเพื่อส่งไปยังลานตากตะกอน ความถี่และระยะเวลาในการสูบตะกอนขึ้นอยู่กับปริมาณตะกอน
3.3 เครื่องสูบน้ำใส เป็นเครื่องที่มีหน้าที่สูบน้ำใสส่งต่อไปยังถังฆ่าเชื้อโรค ซึ่งควบคุมโดยเครื่องตั้งเวลา
3.4 ถังฆ่าเชื้อโรค เป็นถังสี่เหลี่ยมทางด้านน้ำเข้ามีแผ่นเวียร์ (weir) เพื่อใช้วัดอัตราการไหลของน้ำทิ้ง มีถังสารละลายคลอรีนสำหรับฆ่าเชื้อโรคด้วย
3.5 ลานตากตะกอน มีลักษณะเป็นลานทราย (sand drying beds) ที่ใช้สำหรับตากตะกอนที่สูบจากบ่อตกตะกอนเพื่อนำไปกำจัดต่อไป



     

4.5 stars เฉลี่ย : 4.5 จาก 2 ครั้ง.

Infection Control/Environment/ Equipment5 อันดับล่าสุด

      ซ้อมแผนอัคคีภัย ภาคกลางคืน ประจำปี 2561 8/มิ.ย./2561
      การดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบเอสบีอาร์(SBR) 18/ส.ค./2560
      โรงพยาบาลแหลมงอบ จัดซ้อมแผนอัคคีภัย ประจำปี 2558 ในภาคกลางคืน 3/ก.พ./2558
      ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเอสบีอาร์ (Sequencing Batch Reactor) 22/ม.ค./2558
      สำรวจวิศวะความปลอดภัยในโรงพยาบาล 8/ต.ค./2557


 
 หน้านี้ใช้เวลา LOAD ทั้งสิ้น  0.56819009780884 วินาที